เรื่องราว/คุณจุฬาลักษณ์ หวู (ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่)
ผู้เขียน/Asuka Lee(อา ซู ค่ะ -หลี)
ในปีค.ศ2017ประเทศไทยได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง”ป๊อปอาย”ขึ้นและได้สะท้อนถึงชายวัยกลางคนที่ชื่อ”ธนา”ได้ช่วยเหลือ ช้างตัวหนึ่งกลับไปยังบ้านเกิดของตน จุดที่ดึงดูดความสนใจจากภาพยนตร์เรื่องนี้คือ”ป๊อปอาย”ช้างที่มีความซื่อสัตย์และเชื่อฟัง จากประสบการณ์ที่เราเป็นคนไทยเกิดในประเทศไทยดังนั้นจึงอยากนำเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมของช้างไทยมาฝากทุกท่านได้ชมกันนะคะ
บ้านเกิดของดิฉันอยู่ที่ “จังหวัดอุดรธานี” ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือทุกคนรู้จักและมักเรียกกันว่า”อีสาน”นั้นเองสมัยนั้นกันดารมากและห่างจากตัวเมืองหลายกิโลทีเดียว ตอนเด็กก็ไม่มีของเล่นที่ทันสมัย เท่าที่ดิฉันจำความได้และประทับใจมาก คือได้ขี่หลังช้างนั้นเอง โอกาสแบบนี้ต้องรอเป็นปีสองปีเลยที่เดียว ควาญช้างถึงจะพาช้างมาให้เราได้ขี่ หลังช้างกัน มิฉะนั้นเด็กๆทุกคนต้องไม่พลาดโอกาศนี้แน่นอน
ช้างเป็นสัตว์อนุรักษ์และเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ผู้ที่ครอบครองช้างต้องมีสำเนาและชื่อที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในภาพยนตร์เรื่องนี้ช้างชื่อป๊อปอาย แต่ที่น่าแปลกใจมากที่ได้ยินจากเรื่องราวที่คุณจุฬาลักษณ์ เล่า ช้างที่มีชื่อว่า”แก้ว” การฝึกหัดควาญช้างจะต้องมีประสบการณ์ในการฝึกอย่างดีถึงจะเข้าใจช้างได้และการทำร้ายช้างก็ผิดกฎหมาย ช้างเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และมีพลังมาก สมัยก่อนจะนำมาใช้งานลากซุงและฝึกฝนการแสดง ช้างส่วนมากจะมาจากจังหวัดสุรินทร์ที่ติดกับประเทศกัมพูชา.
ในสมัยนั้นเมื่อเสร็จจากการใช้งานการเกษตร ควาญช้างจะพาช้างออกมาหารายได้พิเศษเพื่อจะได้มีค่าอาหาร เช่นในภาพยนตร์ซึ่งมีธนาได้จูงช้างที่ชื่อป๊อปอายเดินตามท้องถนนข้ามวันข้ามคืนไปบ้านเกิด ถึงแม้ว่าในไต้หวันจะไม่ได้เห็นภาพแบบนี้ แต่สำหรับเมืองไทยเป็นภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน
ควาญช้างไปกันเป็นกลุ่มก่อนจะออกเดินทางต้องเลือกเส้นทางก่อนที่จะมุ่งหน้าไป พอถึงจุดหมายควาญช้างจะแยกย้ายกันไปให้บริการตามละหมู่บ้านเช่นรอดท้องช้าง,ขี่หลังช้าง,หรือป้อนอาหารช้าง และกิจกรรมอื่นๆซึ่งการบริการก็จะเก็บครั้งละสิบยี่สิบบาทต่อรอบ ควาญช้างจะพาช้างเดินสายไปเรื่อยๆค่ำไหนนอนนั้นจนกระทั่งถึงจุดหมาย
ประมาณปีสองปีควาญช้างถึงจะพาช้างมาให้บริการ มิฉะนั้นทุกครั้งที่มีช้างมาที่หมู่บ้าน พวกเด็กๆดีใจและรีบแย่งกันเข้าแถวขี่หลังช้าง. ช้างเชือกหนึ่งจะขึ้นนั่งได้สามถึงสี่คน ถ้าไม่มีบันไดพวกเราก็จะปีนขึ้นระเบียงบ้านชั้นสองเพื่อจะขี่หลังช้างให้ได้ ในตอนนั้นไม่รู้สึกกลัวอะไรทั้งสิ้นฮ่าๆฮ่าๆ
ช้างนอกจากจะขี่หลังและลูบคลำตามลำตัวได้แล้ว ช้างยังเป็นสัญลักษณ์มงคลและเป็นสัตว์ที่นำโชคลาภอีกด้วย ผู้ใหญ่เด็กเล็กต่างพากันมารอดท้องช้างเพื่อ ศิริมงคลแก่ตน เหมือนกับชาวไต้หวันที่มีความเชื่อ “เป่า-พิง-อัน”(保平安) ซึ่งแปลว่า”ปกปักษ์รักษา” หวังว่าการขอพรจากอำนาจในร่างกายที่น่าเกรงขามของช้างจะกำจัดสิ่งที่เลวร้ายออกไปนั้นเอง